การทำรากฟันเทียม เป็นอีกหนึ่งเทคนิคทันตกรรมที่สามารถช่วยแก้ปัญหาฟันหลุด ฟันหายที่เกิดจากการผุ เป็นโรค หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เพื่อให้ได้มีซี่ฟันใหม่เข้ามาเติมเต็มและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งหลายคนที่มีความสนใจอยากลองทำ แต่ยังมีข้อสงสัยว่า รากฟันเทียมทำมาจากอะไร เหมาะสำหรับใคร เพื่อนำไปพิจารณาว่าควรทำหรือไม่ วันนี้เราจะพาไปไขข้อสงสัยในบทความนี้
รู้จัก เทคนิคทันตกรรมการทำรากฟันเทียม
สรุปหัวข้อสำคัญ
Toggleการทำรากฟันเทียมคืออะไร
การทำรากฟันเทียม เป็นทันตกรรมรูปแบบหนึ่งที่ใช้การผ่าตัดโดยใส่วัสดุเทียมทดแทนรากฟันที่หายไป โดยรากฟันเทียมจะถูกฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร จากนั้นจะทำการยึดครอบฟันหรือสะพานฟันเข้ากับรากฟันเทียม เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ฟันข้างเคียงเคลื่อนที่ และทำให้การบดเคี้ยวอาหารสามารถทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน รากฟันเทียมเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันไป ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขมากขึ้นได้
รากฟันเทียมทำมาจากอะไร
รากฟันเทียม เป็นวัสดุที่มีความใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด ทำจากไทเทเนียม เป็นโลหะเบา มีคุณสมบัติความแข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นสนิม มีความเข้าได้กับเนื้อเยื่อในช่องปาก เหมาะสำหรับใช้ทำรากฟันเทียม
เมื่อทำการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียม และรอระยะเวลาให้เชื่อมยึดกับกระดูกดีแล้ว รากฟันเทียมจะสามารถเป็นฐานที่ดี สำหรับทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือทำฟันปลอมแบบถอดได้
ส่วนประกอบของรากฟันเทียม
ส่วนประกอบของรากฟันเทียม ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้
- รากเทียม (Implant Body) เป็นแท่งโลหะที่ทำจากไทเทเนียม มีรูปร่างคล้ายรากฟันธรรมชาติ ทำหน้าที่ยึดครอบฟันหรือสะพานฟันเข้ากับกระดูกขากรรไกร
- ส่วนยึดต่อ (Abutment) เป็นชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กที่ยึดระหว่างรากเทียมและครอบฟันหรือสะพานฟัน ทำหน้าที่แทนตัวฟัน และรองรับที่ครอบฟัน
- ฟันเทียม (Crown) เป็นฟันทดแทนที่มีสีและรูปร่างใกล้เคียงฟันธรรมชาติ อยู่ติดกับส่วนยึดต่อ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารและช่วยเสริมความงามให้กับใบหน้า
การทำรากฟันเทียม ช่วยเติมเต็มความสะดวกในชีวิตประจำวัน
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
มีประสิทธิภาพอยู่ได้ยาวนาน : รากฟันเทียมเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้ยาวนาน เพราะสามารถอยู่ได้นานหลายปี
เพิ่มความมั่นใจ : การเติมเต็มช่องว่างของฟันด้วยรากฟันเทียม จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ และรอยยิ้มที่สวยงาม
การกินที่มีความสุข : วัสดุรากฟันเทียมมีความแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ฟันบดเคี้ยวได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ กินอาหารต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
ป้องกันไม่ให้ฟันข้างเคียงเคลื่อนที่ : รากฟันเทียมจะยึดกระดูกขากรรไกรให้คงที่ ช่วยให้ฟันข้างเคียงไม่เคลื่อนตัว
ความสะดวกสบาย : รากฟันเทียมเป็นการรักษาที่สะดวกสบาย ซึ่งจะมีความรู้สึกเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยหลังการผ่าตัด และสามารถใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
รากฟันเทียมเหมาะสำหรับใคร และไม่เหมาะกับใคร
การทำรากฟันเทียม เป็นแผนการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียฟัน หรือฟันหายหลายซี่ สามารถเข้ารับการรักษาได้ในหลายช่วงวัย แต่สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยังไม่แนะนำให้ทำ เพราะกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางประเภท เพราะฉะนั้นก่อนทำ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
การดูแลรักษาหลังการใส่รากฟันเทียม
โดยปกติแล้ว การทำรากฟันเทียมจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ซึ่งหลังผ่าตัดเสร็จ คนไข้จะรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย แต่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวด และแนะนำให้งดกินอาหารแข็งเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หมั่นรักษาความสะอาดในช่องปาก รวมถึงควรแปรงฟันอย่างระมัดระวัง
สำหรับคนที่อยากทำทันตกรรมเพื่อชดเชยฟันที่สูญเสียไป ขอแนะนำ บริการทำรากฟันเทียม ราคาไม่แพง ที่ About Tooth Dental คลินิกทันตกรรมที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้บริการคุณอย่างดีที่สุด เพื่อให้คุณมั่นใจว่าการทำรากเทียมนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด สามารถนัดเข้ามาปรึกษาปัญหากับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมก่อนเริ่มทำได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-070-0771 หรือ LINE : @abouttooth (มี @ ด้วย) และช่องทางติดต่ออื่น ๆ ของคลินิก About Tooth Dental
ทพญ. ณิศรา ธนฤกษ์ชัย ทันตแพทย์ด้านทันตกรรมรากฟันเทียม ทันตกรรมจัดฟัน และเฉพาะทางด้านวีเนียร์ สำเร็จการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประสบการณ์การทำงานยาวนานและได้รับประกาศนียบัตรทันตกรรมในหลายสาขา ได้แก่ ทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง ทันตกรรมรากเทียม ทันตกรรมจัดฟันขั้นสูง ประกาศนียบัตรวีเนียร์ Bootcamp และ Masterclass ตลอดจนใบรับรองผู้ให้บริการจัดฟันแบบใส Invisalign ระดับ Platinum Provider 2021 และ Zenyum ระดับ Star tier 2023
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้ง About Tooth Dental Clinic ซึ่งได้รับรางวัล World Class Award 2021 สาขา The Best of International Healthy Business ตลอดจนดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกของสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย (TADI)