หลายคนจะมีคำถามที่ว่าฟันแบบเรานั้นควรจัดฟันหรือไม่? วันนี้คลินิกทันตกรรม About Tooth จะมาแบ่งลักษณะฟันที่ควรต้องจัดฟันมาแนะนำกันค่ะ
1. ฟันบนยื่น
ฟันบนยื่นหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าฟันเหยิน มีลักษณะฟันบนยื่นออกมามากเมื่อเทียบกับฟันล่าง สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ กระดูกขากรรไกรผิดปกติ หรือพฤติกรรมที่ติดเป็นนิสัยบางอย่างเช่น ชอบนำลิ้นดุนฟัน หรือดูดนิ้ว ส่งผลทำให้ปากอูม คางสั้น ยิ้มแล้วไม่สวย ส่งผลต่อความสวยงามบนใบหน้า และนอกจากนั้นยังส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารอีกด้วย
ในกรณีที่ฟันยื่นในระดับน้อยถึงปานกลางสามารถแก้ไขได้โดยการจัดฟัน แต่ถ้าในกรณีที่ฟันบนยื่นออกมมามากจากลักษณะกระดูกขากรรไกรจะพิจารณารักษาโดยการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรร่วมดัวย
2. ฟันล่างยื่น
ฟันล่างยื่น หรือทางการแพทย์เรียกว่าภาวะคางยื่น (Prognathism) มีลักษณะฟันล่างยื่นออกมาสบคร่อมกับฟันบน หรือปลายฟันล่างกัดชนกับปลายฟันบน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันล่างและฟันบน สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม ขากรรไกรล่างมีการเจริญเติบโตมากกว่าขากรรไกรบน หรือขากรรไกรบนมีการเจริญน้อยเกินไป ภาวะคางยื่นส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ส่งผลต่อภาวะข้อต่อขากรรไกรในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการนอนกัดฟัน ผิวหน้าฟันสึกกร่อนร่วมด้วย
แนวทางการรักษาควรเข้ามาปรึกษากับทันตแพทย์ เอกซเรย์ดูลักษณะการสบฟันและขนาดของขากรรไกร ในกรณีที่ภาวะคางยื่นอยู่ในระดับที่ไม่มากสามารถรักษาโดยการจัดฟันร่วมกับทำวีเนียร์ได้ แต่ในกรณีที่ลักษณะขากรรไกรล่างยื่นมากจากโครงสร้างจะแนะนำให้จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
3. ฟันกัดคร่อม
ฟันกัดคร่อมมีลักษณะฟันบนกับสบไม่พอดีกับฟันล่างทำให้กัดฟันแล้วดูฟันเยื้องหรือฟันดูเหลื่อมกัน สาเหตุไม่แน่ชัด ผู้ป่วยบางรายเกิดจากความผิดปกติของขากรรไกร การขึ้นของฟันที่ผิดปกติ ส่งผลต่อความสวยงาม การบดเคี้ยวอาหาร สามารถแก้ไขได้โดยการจัดฟัน
4. ฟันสบเปิด (Open bite)
ฟันสบเปิดเป็นลักษณะฟันหน้าบนและฟันหน้าล่างสบไม่โดนกันเลย ในภาวะกัดฟันปกติจะเห็นเป็นช่องระหว่างฟันบนและฟันล่าง ผู้ป่วยจะกัดฟันโดนกันเฉพาะฟันหลังเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกร และพฤติกรรมการดูดนิ้ว อมนิ้วตั้งแต่วัยเด็กจนติดเป็นนิสัย ส่งผลอย่างมากต่อการออกเสียงพูด การบดเคี้ยว บุคลิกภาพ ผู้ป่วยจะมีลักษณะการพัฒนาใบหน้าในแนวดิ่งมากกว่ามีผลทำให้ใบหน้าดูยาวไม่สมส่วน แนวทางการรักษา
ผู้ที่มีการกัดฟันที่ผิดปกติในลักษณะนี้ควรเข้ามาพบทันตแพทย์และรับการรักษาเมื่อทันตแพทย์ประเมินเคสแล้วอาจพิจารณาจัดฟันร่วมกับการปัก miniscrew ดึงฟัน หรือในเคสที่มีฟันสบเปิดแบบรุนแรงทันตแพทย์จะพิจารณาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด
5. ฟันห่าง (Spacing teeth)
ฟันห่างเป็นลักษณะฟันไม่ชิดติดกัน เกิดร่องระหว่างฟัน มีสาเหตุมาจากขนาดขากรรไกรใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดฟัน หรือมาจากเคยจัดฟันร่วมกับการถอนฟันกรามน้อยและเมื่อเวลาผ่านไปไม่ได้ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันห่างได้เช่นกัน ฟันห่างส่งผลทำให้ยิ้มไม่สวย เศษอาหารติดฟัน ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพได้ แนวทางการรักษา สามารถปรับแก้ไขได้โดยการจัดฟันค่ะ
6. ฟันซ้อนเก (Crowding)
เป็นลักษณะฟันไม่เรียงตัวกัน ฟันไม่เรียงสวยดูเป็นคลื่น มีสาเหตุมาจากขนาดของขากรรไกรมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดฟัน หรือฟันมีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้พื้นที่ไม่เพียงพอในการเรียงตัวของฟัน ส่งผลทำให้ยิ้มไม่สวย เศษอาหารเข้าไปติดง่าย เกิดหินปูนขึ้นไว เสี่ยงต่อเหงือกอักเสบ กลิ่นปาก และฟันผุ
แนวทางการรักษาสามารถรักษาโดยการจัดฟันได้ค่ะ ทันตแพทย์อาจพิจารณาถอนหรือไม่ถอนฟันเพิ่ม (ฟันที่พิจารณาถอนจะเป็นตำแหน่งฟันกรามน้อยหลังฟันเขี้ยวเป็นส่วนมาก) หรือในกรณีที่ฟันซ้อนเกเพียงเล็กน้อยทันตแพทย์อาจพิจารณาไม่ถอนฟันเพิ่มได้ค่ะ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดฟันแบบต่างๆ คลิก!
โปรโมชั่นการจัดฟันแบบเหล็ก คลิก!
โปรโมชั่นการจัดฟันแบบ self-ligating คลิก!