fbpx

About Tooth Dental Clinic

ฟันหัก รักษายังไง ชวนรู้จัก 5 วิธีบูรณะฟันยอดนิยม

“ฟันหัก” เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกใจและอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด สิ่งสำคัญคือต้องรู้วิธีรับมือกับสถานการณ์นี้ให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาฟันให้คงอยู่ต่อไป ในบทความนี้จะพามารู้ทันอาการฟันหัก แนะนำวิธีการรับมือเมื่อฟันหักต้องทำไงในเบื้องต้น และแนวทางการรักษาฟันหัก เพื่อให้สามารถผ่านพ้นสถานการณ์นี้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

อาการฟันหัก

ฟันหัก เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน โดยฟันที่หักในแต่ละสถานการณ์อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยทั่วไปแล้วอาการที่พบบ่อย มีดังนี้

  • รู้สึกเจ็บหรือเสียวฟัน
  • มีเลือดออกบริเวณที่ฟันหัก
  • รู้สึกฟันขยับหรือมีฟันคมในปาก
  • เคี้ยวอาหารลำบาก
  • มีฟันส่วนหนึ่งหายไป

ฟันหัก เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

ฟันหักมีสาเหตุปัจจัยเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับอุบัติเหตุ ฟันเสื่อมสภาพ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้

  • อุบัติเหตุ รถชน เล่นกีฬา หกล้ม
  • ฟันหักจากการเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น ถั่ว น้ำแข็ง ลูกอม
  • วัสดุอุดฟันแตก จากฟันที่มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่
  • ฟันเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่พบในคนอายุ 50 ขึ้นไป
  • คนไข้มีฟันผุ

เหตุใดฟันหักจึงเป็นปัญหาที่น่ากังวล ?

ฟันหักไม่เพียงแต่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ แต่ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรงตามมาได้ เช่น

  • การติดเชื้อ : เมื่อฟันหัก บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะเปิดโอกาสให้แบคทีเรียเข้าไปสะสมและก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
  • อาการปวดฟัน : การหักของฟันอาจทำให้เส้นประสาทถูกกระตุ้น เกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรง
  • สูญเสียฟัน : หากปล่อยให้ฟันหักไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่การสูญเสียฟันซี่นั้นไปในที่สุด

ขั้นตอนการรับมือเมื่อฟันหักต้องทำยังไงในเบื้องต้น

ฟันหัก เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงความมั่นใจของคุณได้ ดังนั้นการรู้วิธีจัดการเบื้องต้นจะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมได้ โดยมีขั้นตอนการรับมือที่ควรทำ ดังนี้

บรรเทาอาการปวด

หากมีอาการเจ็บปวดจากฟันหัก ให้รับประทานยาระงับอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน สามารถช่วยลดอาการปวดให้น้อยลงได้ จากนั้นทำการบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นจะช่วยลดการอักเสบและป้องกันการติดเชื้อ

ระมัดระวังการรับประทานอาหาร

หลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่หักกัดหรือบดเคี้ยวอาหาร เพื่อป้องกันการสูญเสียฟัน รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนหรือเย็นจัด เพราะอาจกระตุ้นอาการเสียวฟัน โดยแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารอ่อนนุ่มที่เคี้ยวง่าย เช่น อาหารประเภทซุป โจ๊ก หรืออาหารบด เพื่อลดแรงกดบริเวณฟันที่หัก

ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม

หากชิ้นส่วนฟันที่เหลือมีลักษณะแหลมคม หรือขรุขระ ให้ใช้หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลหุ้มฟันไว้ชั่วคราว จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่อลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม โดยวิธีนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป

พบทันตแพทย์โดยเร็ว

ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม โดยทันตแพทย์จะประเมินความเสียหายและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การอุดฟัน การครอบฟัน หรือการรักษารากฟัน

การปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ อย่างไรก็ตาม การพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาฟันหักได้ดีที่สุด

รักษาอาการฟันหัก

ฟันหัก รักษายังไง ?

ฟันหัก ทำไงดี ? การรักษาฟันหักขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและตำแหน่งที่ฟันหัก ทันตแพทย์จะประเมินอาการและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยมีวิธีการบูรณะฟันหลังจากที่หักไปแล้ว ดังนี้

ต่อฟันหัก

เหมาะสำหรับกรณีที่มีชิ้นส่วนฟันหักแยกออกมาเพียงเล็กน้อย มีรอยร้าวบริเวณชั้นเคลือบฟัน หรือหักบริเวณด้านบน โดยไม่ลึกถึงชั้นรากฟัน ทันตแพทย์จะใช้วัสดุพิเศษยึดชิ้นส่วนฟันเข้าด้วยกัน อุดปิดคลองรากฟัน และบูรณะให้ฟันกลับมาแข็งแรงสมบูรณ์

อุดฟัน

ใช้ในกรณีที่การต่อฟันไม่สามารถทำได้ หรือไม่มีส่วนฟันให้ต่อ ทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟันที่มีสีใกล้เคียงฟันจริง หรือวัสดุอุดสีเงิน เติมบริเวณที่หักและปรับแต่งรูปร่างให้เข้ากับฟันเดิม

ครอบฟัน

เป็นวิธีการบูรณะฟันที่เหมาะสำหรับฟันที่หักค่อนข้างมาก มีเนื้อฟันเดิมเหลือน้อย จนไม่สามารถอุดฟันได้ โดยทันตแพทย์จะสวมครอบฟันที่ทำจากเซรามิกล้วน พอร์ซเลน หรือโลหะ เพื่อปกป้องและคืนรูปร่างฟันที่สวยงาม

รักษารากฟัน

เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับฟันหักถึงรากฟัน ทันตแพทย์จะทำการรักษารากฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อในภายหลัง จากนั้นจึงอุดปิดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อให้ฟันกลับมาแข็งแรงและสวยงาม

วีเนียร์

ฟันหัก รักษายังไงดี ขอแนะนำ วีเนียร์ เทคโนโลยีรักษาฟันยอดนิยม เหมาะสำหรับฟันหน้าที่หักหรือแตกร้าว ทันตแพทย์จะใช้วัสดุที่ทำเป็นแผ่นรูปทรงฟันบาง ๆ ติดทับหน้าฟันเพื่อปรับปรุงรูปร่างและสีของฟัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการครอบฟันแต่ยังอยากเก็บเนื้อฟันเดิมไว้

ทั้งนี้ การเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ ซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะการหักของฟัน ตำแหน่ง และสภาพโดยรวมในช่องปากของผู้ป่วย

เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ทำให้ฟันหัก ไม่ควรปล่อยไว้นาน ต้องเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อมีโอกาสติดฟันที่หักให้กลับมาเหมือนเดิม สำหรับคนที่สนใจเข้ารับการรักษาฟันหัก การทำฟันวีเนียร์ คือการรักษาที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง แต่หากยังไม่รู้ว่าจะทำวีเนียร์ที่ไหนดี ขอแนะนำ About Tooth Dental คลินิกทันตกรรมที่มีบริการทำวีเนียร์ ใช้วัสดุคุณภาพสูง ให้บริการโดยทีมแพทย์ที่มีความชำนาญการ และเครื่องมือที่ทันสมัย

หากสนใจสามารถนัดเข้ามาปรึกษาปัญหากับทันตแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษาได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 080-481-5555 และ LINE : @abouttooth (มี @ ด้วย) หรือช่องทางติดต่ออื่น ๆ ของคลินิก About Tooth Dental

แหล่งอ้างอิง

Close Menu