รากฟันเทียม ถือเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการทดแทนฟันที่สูญเสียไป ช่วยให้กลับมามีรอยยิ้มที่สวยงามและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ด้วยความที่เป็นการผ่าตัด หลายคนจึงกังวลว่าทำรากฟันเทียมเจ็บไหม ? และต้องดูแลอย่างไร ? บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้ได้รู้กัน
Table of Contents
Toggleรากฟันเทียม ทันตกรรมฟันปลอมแบบติดแน่น
รากฟันเทียม คือทันตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปด้วยการผ่าตัด โดยทำการฝังหรือใส่โครงรากฟันเทียมเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ในตำแหน่งที่สูญเสียฟันและรากฟันธรรมชาติไป เพื่อให้ได้ฟันซี่ใหม่ที่สามารถบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริง
ในปัจจุบัน ทันตกรรมใส่รากฟันเทียม เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการทดแทนฟันแท้ ด้วยคุณสมบัติความทนทาน ให้ความสวยงาม และมีการใช้งานที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ เพื่อช่วยคนไข้ให้กลับมามีรอยยิ้มที่มั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องฟันหลวมหรือฟันปลอมหลุดออกมาได้ง่าย ๆ
ใครบ้างที่เหมาะกับการใส่รากฟันเทียม
- ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีการสูญเสียฟัน มีปัญหาฟันหลอ
- ผู้ที่ปฏิเสธการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ เนื่องจากใช้แล้วปรับตัวไม่ได้ ใช้งานไม่ถนัด
- ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกและภาวะสูญเสียฟันในขั้นรุนแรง
- ผู้ที่ทำครอบฟันหรือสะพานฟันแล้วมีปัญหา ฟันอาจโยกจนถึงขั้นจำเป็นต้องถอน
ไขข้อสงสัย การทำรากฟันเทียมเจ็บไหม ?
การใส่รากฟันเทียมจะมีขั้นตอนสำคัญคือ การผ่าตัดเปิดเหงือกก่อนใส่ฟันเทียม ซึ่งอาจฟังดูน่ากลัวและมีความเจ็บปวด แต่ที่จริงแล้วไม่ได้เจ็บมากอย่างที่คิด โดยในขณะทำรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ทำให้ผู้รับการรักษาไม่รู้สึกเจ็บปวดมากนัก หรือมีความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟันทั่วไป
หลังการผ่าตัด คนไข้อาจมีความรู้สึกตึง ๆ หรือปวดตื้อบ้าง แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป โดยอาการเหล่านี้มักหายไปภายใน 1-2 วัน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจ็บในการใส่รากฟันเทียม
- ความยาก-ง่ายของการผ่าตัด
- สภาพร่างกายของผู้ป่วย
- การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด
สิ่งที่ควรรู้ในการทำรากฟันเทียม
การทำรากฟันเทียม เป็นวิธีทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไป ช่วยให้ผู้รับการรักษามีรอยยิ้มและการบดเคี้ยวอาหารที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยมีสิ่งสำคัญที่ควรรู้ทั้งก่อนและหลังการทำรากฟันเทียม ดังนี้
ก่อนการทำรากฟันเทียม
- ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมินสภาพช่องปาก ความเหมาะสม และวิธีการรักษา เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในภายหลัง
- แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่รับประทาน และประวัติการรักษาอื่น ๆ
- วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ เรื่องชนิดของรากฟันเทียม เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
- เตรียมตัวทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อม
การดูแลตัวเองหลังการใส่รากฟันเทียม
- หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของฟันตามปกติ แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยใช้แปรงขนนุ่ม
- รับประทานเฉพาะอาหารเหลวในช่วงวันแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารปนเปื้อนแผล
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากในวันแรกหลังการผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดรากฟันเทียมเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน
- หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น บวม แดง อักเสบ มีเลือดออก และรีบพบแพทย์ทันที
อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อตัดสินใจว่าการทำรากฟันเทียมเหมาะสมกับคุณหรือไม่
สำหรับผู้ที่มีปัญหาช่องปาก สูญเสียฟันแท้ไป การทำทันตกรรมรากฟันเทียม คือทางเลือกที่ตอบโจทย์ ขอแนะนำ About Tooth Dental คลินิกทันตกรรมที่มีบริการทำรากฟันเทียม ด้วยวัสดุคุณภาพสูง ให้บริการโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
หากสนใจสามารถนัดเข้ามาปรึกษาปัญหากับทันตแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษาได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 080-481-5555 และ LINE : @abouttooth (มี @ ด้วย) หรือช่องทางติดต่ออื่น ๆ ของคลินิก About Tooth Dental
แหล่งอ้างอิง
- DENTAL IMPLANT CARE: 7 TIPS FOR LOOKING AFTER YOUR IMPLANTS. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 จาก https://forestparkdental.com/dental-implant-care-7-tips-for-looking-after-your-implants/
ทพญ. ณิศรา ธนฤกษ์ชัย ทันตแพทย์ด้านทันตกรรมรากฟันเทียม ทันตกรรมจัดฟัน และเฉพาะทางด้านวีเนียร์ สำเร็จการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประสบการณ์การทำงานยาวนานและได้รับประกาศนียบัตรทันตกรรมในหลายสาขา ได้แก่ ทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง ทันตกรรมรากเทียม ทันตกรรมจัดฟันขั้นสูง ประกาศนียบัตรวีเนียร์ Bootcamp และ Masterclass ตลอดจนใบรับรองผู้ให้บริการจัดฟันแบบใส Invisalign ระดับ Platinum Provider 2021 และ Zenyum ระดับ Star tier 2023
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้ง About Tooth Dental Clinic ซึ่งได้รับรางวัล World Class Award 2021 สาขา The Best of International Healthy Business ตลอดจนดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกของสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย (TADI)