ปัญหาฟันสึกกร่อน เป็นเรื่องที่หลายคนกังวลใจ เพราะนอกจากจะส่งผลต่อความสวยงามของฟันแล้ว ยังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการเสียวฟัน ปวดฟัน หรือแม้แต่การสูญเสียฟันในที่สุด มาทำความเข้าใจกันว่า ฟันสึกกร่อนเกิดจากอะไร รักษายังไง พร้อมแนะนำวิธีป้องกันที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย
Table of Contents
Toggleฟันสึกกร่อน เกิดจากอะไร ? รู้จักสาเหตุของฟันสึกกร่อน
ฟันสึกกร่อน คือ การที่ชั้นเคลือบฟันถูกทำลายจากกรดในอาหารและเครื่องดื่มที่เราบริโภค หรือเกิดจากการใช้ฟันที่หนักเกินไป เช่น การกัดของแข็ง
ฟันสึกกร่อนเป็นปัญหาที่เกิดจากหลากหลายปัจจัย โดยสาเหตุหลักคือกรดในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสเปรี้ยว และผลไม้บางชนิดที่มีความเป็นกรดสูง นอกจากนี้ โรคกรดไหลย้อน ล้วงคอ อาเจียนง่าย ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารมาทำลายเคลือบฟันโดยตรง
นอกจากนี้ การนอนกัดฟัน หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Bruxism ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ชั้นเคลือบฟันสึกหรอเร็วขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแปรงฟันแรงเกินไป หรือใช้แปรงสีฟันที่แข็งเกินไป ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ฟันสึกได้ทั้งสิ้น
ลักษณะที่บ่งบอกว่าฟันสึกกร่อน
- รู้สึกเสียวฟันเมื่อรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
- ขอบฟันบางและแบนลง
- รูปร่างฟันเปลี่ยนไป
- สีของฟันเปลี่ยน
- มีรอยบุ๋มหรือหลุมเล็ก ๆ บนผิวฟัน
- มีอาการปวดฟันในบางกรณี
- การแปรงฟันแรง
ฟันสึกกร่อน รักษายังไง ? แนะนำวิธีการรักษาฟันสึกกร่อน
- ฟันสึกเล็กน้อยและไม่มีอาการเสียวฟัน
ปรับพฤติกรรมเพื่อลดการกร่อนของฟัน เช่น ลดความถี่ในการรับประทานอาหารที่มีรสจัดและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง พร้อมแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดการเสียวฟันป้องกันไว้ก่อน
- ฟันสึกมากจนเกิดอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน
อาการเสียวฟันหรือปวดฟัน เป็นสัญญาณว่าฟันสึกกร่อนมากจนโพรงประสาทฟันอาจได้รับความเสียหาย ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อการรักษา เช่น อุดฟัน ครอบฟัน หรือรักษารากฟัน ซึ่งแต่ละวิธีเหมาะกับปัญหาที่แตกต่างกันไป โดยหากเป็นการอุดฟัน จะช่วยลดอาการเสียวฟัน และป้องกันไม่ให้เป็นหนักขึ้น ส่วนการครอบฟัน เป็นการครอบหรือคลุมฟันที่เสียหายทั้งซี่ และการรักษารากฟัน เหมาะกับฟันที่มีปัญหารุนแรงมาก และมีอาการปวดอย่างหนัก
สำหรับผู้ที่ต้องการคืนความสวยงามให้แก่ฟัน การทำวีเนียร์ หรือการใช้วัสดุปิดผิวฟัน คือวิธีที่จะช่วยให้ฟันกลับมาดูสวยงามได้อีกครั้ง
เคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปากให้แข็งแรง
- แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังมื้ออาหาร และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3-4 เดือน
- ใส่ใจกับการเลือกรับประทานอาหาร โดยลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสเปรี้ยว น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- รับประทานผักและผลไม้เพื่อบำรุงเหงือกและฟัน เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลส้ม และผลไม้ตระกูลเบอร์รี รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
- หลีกเลี่ยงการกัดหรือฉีกของแข็งด้วยฟัน และพยายามเคี้ยวอาหารให้ช้าลง
- หมั่นสังเกตฟันและเหงือกหลังแปรงฟันว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
- พบทันตแพทย์เป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
หากคุณมีปัญหาฟันสึกกร่อนที่ทำให้ผิวฟันไม่สวยงาม และสงสัยว่าจะทำวีเนียร์ที่ไหนดี ขอแนะนำให้ปรึกษากับทีมทันตแพทย์ที่ About Tooth Dental ซึ่งพร้อมให้คำแนะนำและบริการด้านทันตกรรมการทำวีเนียร์ ราคาไม่แพง ดำเนินการด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ให้คุณมีรอยยิ้มที่สวยงามและสุขภาพฟันที่แข็งแรง
สนใจสามารถนัดเข้ามาปรึกษาปัญหากับทันตแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 080-481-5555 และ LINE : @abouttooth (มี @ ด้วย) หรือช่องทางติดต่ออื่น ๆ ของคลินิก About Tooth Dental
บทความโดย ทพญ. ปภัทสรา วีระพล
แหล่งอ้างอิง
- Bruxism (Teeth Grinding): How Do I Stop It?. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 จาก https://www.webmd.com/oral-health/teeth-grinding-bruxism
- What is bruxism or teeth grinding?. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 จาก https://www.medicalnewstoday.com/articles/190180
ทพญ. ปภัทสรา วีระพล ทันตแพทย์ด้านทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมรากฟันเทียม และเฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ (วีเนียร์ ฟันปลอม) สำเร็จการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับ 2 ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีประสบการณ์การทำงานยาวนานและได้รับประกาศนียบัตรทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง รวมไปถึงใบรับรองผู้ให้บริการจัดฟันแบบใส Invisalign ระดับ Platinum Provider 2021 และ Zenyum ระดับ Star tier 2023
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้ง About Tooth Dental Clinic ซึ่งได้รับรางวัล World Class Award 2021 สาขา The Best of International Healthy Business ตลอดจนดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย (TADI) และสมาคมทันตกรรมประดิษฐ์ไทย (Prosthodontic)