อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดอาจทำให้ฟันแตกได้ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการยิ้มอีกด้วย สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้ อย่าเพิ่งกังวลใจไป บทความนี้จะไขข้อข้องใจปัญหาฟันแตก เกิดจากอะไร พร้อมแนะนำการรักษาฟันแตกอย่างถูกวิธี เพื่อให้คุณกลับมามีรอยยิ้มที่สวยงามได้อีกครั้ง
Table of Contents
Toggleฟันแตกคืออะไร ?
ฟันแตก คือ ปัญหาลักษณะของฟันที่เกิดรอยแยกบนฟัน ฟันบิ่น หรือแตกออกมาจากตัวฟัน ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม โดยสามารถแบ่งประเภทของฟันแตกได้ดังนี้
- ฟันแตกที่ผิวเคลือบฟัน เป็นการแตกที่เกิดขึ้นเพียงแค่ชั้นนอกสุดของฟัน อาจไม่มีอาการเจ็บปวด โดยสามารถมองเห็นเป็นเส้นร้าวเล็ก ๆ บนผิวฟัน หรือเมื่อใช้ลิ้นสัมผัสโดนอาจรู้สึกได้ว่าฟันคม ๆ
- ฟันแตกถึงเนื้อฟัน เป็นรอยแตกเข้าไปถึงเนื้อฟันด้านใน อาจทำให้รู้สึกเสียวฟันเมื่อสัมผัสอาหารร้อนหรือเย็น เนื่องจากเนื้อฟันมีเส้นประสาทเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกับโพรงประสาทฟัน
- ฟันแตกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน จะมีอาการปวดตื้อ ๆ ที่บริเวณฟันซี่ที่แตก หากเกิดอาการติดเชื้อหรืออักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน อาจทำให้เกิดอาการปวด เจ็บ เมื่อเคี้ยวอาหาร หรือเสียวฟันรุนแรง
- ฟันแตกถึงรากฟัน โดยจะมีรอยแตกลึกลงไปถึงรากฟัน อาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง เนื่องจากโพรงประสาทฟันถูกกระทบกระเทือนโดยตรง
อาการของฟันแตก
- อาการปวดฟัน อาจเกิดขึ้นทันทีหรือค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการแตก
- เสียวฟัน เมื่อสัมผัสอาหารร้อน เย็น หรือหวาน
- บวมบริเวณเหงือก
- เลือดออกจากเหงือกบริเวณฟันแตก
- รู้สึกว่ามีอาหารติดระหว่างฟัน
สาเหตุของฟันแตก
ฟันแตกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ฟันในชีวิตประจำวัน ดังนี้
- การกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง ลูกอม หรือเมล็ดผลไม้แข็ง ๆ
- การถูกกระแทกหรือการบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือการล้มกระแทกพื้น
- การกัดฟันหรือการบดเคี้ยวฟันในขณะหลับ โดยไม่รู้ตัว เช่น อาการขบเน้นฟันแน่น ๆ ฟันบนล่างบดถูไถ ซ้ำ ๆ กัน หรือนอนกัดฟันอย่างรุนแรงมากกว่า 80-100 ครั้ง
- ความเสื่อมของฟันตามอายุ เนื่องจากฟันอาจเปราะบางลงเมื่ออายุมากขึ้น
- ฟันมีรอยอุดขนาดใหญ่ ทำให้โครงสร้างความแข็งแรงของฟันซี่นั้นลดลง
การรักษาฟันแตก
เมื่อพบว่าฟันของคุณแตก คำถามที่มักตามมาคือ “ฟันหน้าแตก รักษายังไง ?” หรือ “ฟันแตกทำไงดี ?” การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งของฟันที่แตก โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
- การอุดฟัน เหมาะสำหรับฟันที่มีรอยแตกเล็กน้อย ทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟันเพื่อปิดรอยร้าว หรือซ่อมแซมรอยแตกของฟันให้เชื่อมกัน
- การครอบฟัน เหมาะสำหรับฟันที่แตกมากขึ้น และลึกลงไปถึงเนื้อฟัน ทันตแพทย์จะสวมวัสดุครอบฟันลงไปให้พอดีกับฟันที่แตก เพื่อช่วยปกป้องฟันที่เหลืออยู่ และฟื้นฟูรูปร่างของฟัน
- การรักษารากฟัน เหมาะสำหรับฟันที่มีรอยแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ ทันตแพทย์ต้องกำจัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันส่วนที่เสียหายออก จากนั้นจึงอุดคลองรากฟัน หรือครอบฟัน เพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
- การถอนฟันและการฝังรากฟันเทียม เหมาะสำหรับในกรณีที่ฟันแตกรุนแรงมากจนไม่สามารถเก็บไว้ได้ อาจจำเป็นต้องถอนฟันและพิจารณาการฝังรากฟันเทียมหรือฟันปลอมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้งานฟันได้ดังเดิม
นอกจากนี้ ในกรณีของ “ฟันหน้าแตก” ที่ส่งผลกระทบต่อรอยยิ้มและความมั่นใจ การทำ “วีเนียร์” คือทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากวีเนียร์เป็นวัสดุบาง ๆ ที่ติดทับบนผิวฟันด้านหน้า ช่วยปรับแต่งรูปร่าง สี และขนาดของฟันให้สวยงามเป็นธรรมชาติ
วิธีป้องกันฟันแตก
การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดฟันแตก คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง เมล็ดผลไม้แข็ง หรือลูกอม
- ไม่ใช้ฟันในการกัดฉีก หรืองัดวัสดุที่มีความแข็ง เช่น เปิดฝาขวดโดยใช้ฟันงัด
- สวมฟันยาง (Mouthguard) ขณะเล่นกีฬาที่มีการปะทะ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่ฟันและกระดูกขากรรไกร
- รักษาสุขภาพฟันโดยรวม ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง รวมถึงการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อให้ฟันแข็งแรงมีสุขภาพดี
- ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟันแตก
Q: ฟันแตกสามารถหายเองได้หรือไม่ ?
A: ฟันแตกไม่สามารถหายเองได้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการเสื่อมสภาพเพิ่มเติมของฟัน
Q: ค่ารักษาฟันแตกประมาณเท่าไร ?
A: การรักษาฟันแตกมีหลายลักษณะตามดุลยพินิจของทันตแพทย์ ซึ่งการรักษาฟันแตกตามแต่ละลักษณะจะมีราคาที่ต่างกันออกไป ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นบาท
Q: ฟันแตกสามารถอุดอย่างเดียวได้ไหม ?
A: ฟันแตกสามารถอุดได้ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของการแตก หากฟันแตกเพียงเล็กน้อยหรือมีรอยแยกไม่ลึกก็สามารถอุดฟันได้ แต่ถ้ารอยแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน ฟันเสียรูป หรือไม่สามารถใช้งานได้ก็ต้องพิจารณาใช้วิธีการรักษาอื่น เช่น การครอบฟัน การรักษารากฟัน การถอนฟัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะช่วยประเมินความรุนแรงและแนะนำทางเลือกการรักษาที่เหมาะสม
Q: ฟันแตกปล่อยไว้ได้ไหม ?
A: การปล่อยฟันแตกไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ อาการปวดฟัน เสียวฟัน หรือฟันแตกเพิ่มมากขึ้นได้ง่าย ทางที่ดีที่สุดคือการเข้ารับการรักษากับทันตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการและแนะนำวิธีรักษาที่ถูกต้อง
Q: วีเนียร์สามารถแก้ปัญหาฟันหน้าแตกได้หรือไม่ และมีข้อดีอย่างไร ?
A: วีเนียร์ เป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาฟันหน้าแตกได้ โดยเฉพาะในกรณีที่รอยแตกไม่ลึกมากและต้องการปรับปรุงรูปลักษณ์ของฟันให้ดูเรียบเนียนและสวยงามขึ้น
ปัญหาฟันแตก อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและความมั่นใจ แต่ด้วยความรู้และการดูแลที่ถูกต้อง คุณสามารถป้องกันและจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณสงสัยว่าฟันของคุณมีปัญหาหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาฟันแตก เข้ามาที่คลินิก About Tooth Dental เรามีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางคอยดูแล ที่พร้อมให้คำแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาฟันแตกที่เหมาะสม ในหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการอุดฟัน ครอบฟัน หรือวีเนียร์ ในราคาสมเหตุสมผล สามารถนัดเข้ามาปรึกษาปัญหากับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางการรักษาก่อนเริ่มทำได้ที่ โทร 02-070-0771 หรือ LINE : @abouttooth (มี @ ด้วย)
แหล่งอ้างอิง
- Cracked teeth สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 จาก https://www.dentalhealth.org/cracked-teeth
ทพญ. ปภัทสรา วีระพล ทันตแพทย์ด้านทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมรากฟันเทียม และเฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ (วีเนียร์ ฟันปลอม) สำเร็จการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับ 2 ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีประสบการณ์การทำงานยาวนานและได้รับประกาศนียบัตรทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง รวมไปถึงใบรับรองผู้ให้บริการจัดฟันแบบใส Invisalign ระดับ Platinum Provider 2021 และ Zenyum ระดับ Star tier 2023
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้ง About Tooth Dental Clinic ซึ่งได้รับรางวัล World Class Award 2021 สาขา The Best of International Healthy Business ตลอดจนดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย (TADI) และสมาคมทันตกรรมประดิษฐ์ไทย (Prosthodontic)